วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้รับจากบทความ (ของกลุ่ม)


Making Knowledge Management System
an Effective Tool for Learning and Training

ปัจจุบันระบบการจัดการความรู้มีความสำคัญมากต่อทุกคน  ทุกอาชีพ  และยังเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากในการกำหนดความสำเร็จขององค์กรอีกด้วย  ซึ่งปัจจัยหลักที่มีส่วนช่วยในการจัดการความรู้มีทั้งหมด 6 ประการ  ได้แก่
1.Media of Representation :  การใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย  ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.Multiple Perspectives :  ระบบ KM จึงต้องมีการควบคุม ผสมผสาน  ในการสร้างพื้นฐานความรู้บนมุมมอง ความเชื่อ สมมุติฐาน  และแม้กระทั่งความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  โดยการจัดหมวดหมู่ระดับของแต่ละบุคคลให้สอดคล้องกันตามความเหมาะสม  แต่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เหมือนกัน
3.Compexity :  การพัฒนาต้องการความเข้าใจและทักษะต่างๆที่จะทำให้การเรียนรู้สภาพแวดล้อมภายในดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้ใช้ระบบ KM  ถ้าผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ  ใช้ง่ายและเกิดประโยชน์เป็นที่แน่นอนว่าผู้ใช้จะตอบรับระบบ KM หากเกิดความยุ่งยากผู้ใช้ก็สามารถควบคุมได้ โดยระบบการเชื่อมต่อที่สนับสนุนและความช่วยเหลือทางวิชาการในส่วนต่างๆของแต่ละบุคคล
4.Users control :  ในระบบ KM ต้องมีการกำหนดตัวเลือกที่จะ เร่งให้เร็วขึ้นหรือช้าลง  และหยุดหรือทำซ้ำ ในเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นทางเลือกและสิ่งผิดปกติในเหตุการณ์ได้
5.Online support ในการเรียน KM เทคโนโลยีถูกใช้ในการสร้างสนับสนุนผู้ใช้เหล่านี้  ผู้เรียนจะถูกจัดสรรเมนูแอคเซส เพื่อให้สามารถตอบคำถามได้   อธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ และฟังก์ชั่นของมัน  และแนะนำขั้นตอนการดำเนินการลึกลงไปสำหรับแต่ละภาระงานที่จะต้องทำให้สำเร็จ
6.Navigation aids :  ในระบบ KM การนำทางเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้ผู้ใช้ได้ย้ายไปยังเป้าหมายในพื้นที่ที่ข้อมูลครอบคลุมถึง  เพื่อการเรียนรู้และการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการจัดทำระบบการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น เราควรที่จะสนับสนุนให้ผู้ใช้คิดอย่างมีเหตุผล และเรียนรู้วิธีที่ง่ายต่อการสนับสนุนการตัดสินใจ  การแก้ไขปัญหาและการส่งต่อความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำเอาระบบการจัดการความรู้มาใช้ในการฝึกอบรมตัวบุคคลและระบบพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ  เราควรที่จะออกแบบ เอาใจใส่เพื่อเป็นหลักการเรียนรู้ที่ทันสมัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น