วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอน/วิธีการค้นหาข้อมูล

ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ  ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site  ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญการใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้นSearch Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา

ประเภทของ Search Engine
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engineอะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ
1.  Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสั่งของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้ 
1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ 
2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง 
3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) 
4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site 
5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ  ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
***เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล 
ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด   ดังวิธีการต่อไปนี้
1.  เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด(อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่ามีอยู่ 2 แบบ)  ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine 
2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพธ์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ) 
3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า 
4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น 
5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน 
6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butterหมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น 
7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu 
8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ 
9.หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น"windows 98"
10. หลีกเลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น 
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์ 

อ้างอิง :
ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด,(2550). การจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน LO. กรุงเทพ-สำนักพิมพ์ใยไหม.
ผศ.ดร.ชัชวาล  วงษ์ประเสริฐ,(2548). การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพ-บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ต  จำกัด.
Alfred Glossbrenner, Emily Glossbrenner. (2001). Search engines for the World Wide WebPeachpit Press. (p.38).

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอทุกกลุ่ม

สิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอของทุกกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 : บทบาทของการจัดการความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ทางกลุ่มได้พูดถึงบทความนี้ว่า การทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความรู้ ซึ่งต้องมีการค้นคว้าให้เกิดขึ้นภายในอนาคต  การจัดการความรู้จะเกิดขึ้นใน 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับทีม และระดับองค์กร  โดยสามารถแก้ปัญหาได้แบบองค์รวมผสมผสานความหลากหลายของมุมมองคือ มุมมองทางกระบวนการ มุมมองทางวัฒนธรรม และมุมมองทางเทคโนโลยี  โดยทั้งหมดจะมีสัดส่วนที่เท่ากัน

กลุ่มที่ 2 : การสร้างรายได้ผ่านคุณค่าของลูกค้า
ได้กล่าวถึงรูปแบบการแสดงขั้นตอนสำคัญที่จำเป็นสำหรับการประปาในอ่างเก็บน้ำ ความรู้ของบริษัท ลูกค้าและการจะเพิ่มศักยภาพสำหรับรายได้มากขึ้น  บริษัทที่ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านไอทีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถให้บริการลูกค้าประจำที่สนใจกับโอกาสในการเข้าวงในของบริษัทที่มีความรู้และเสนอความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดคำถามและคำตอบของแบบสอบถามให้กับลูกค้าอื่นๆ ซึ่งบทนี้จะเรียกว่าลูกค้ารายได้จากการได้มา สถาปัตยกรรมที่สำคัญ บริษัทจำเป็นต่อการดำเนินการ CDR จะมีการอธิบายและกรณีศึกษาการใช้วิธีการที่คล้ายกันจะถูกนำเสนอในการยืมการสนับสนุนสำหรับวิธีการใหม่นี้เพื่อทุนของลูกค้าที่จะนำมาใช้ในระดับที่กว้างขึ้นเพื่อดึงค่ามากขึ้น  สำหรับบริษัททำให้เกิดแรงจูงใจของสินค้าให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นจากลูกค้าที่ได้พบเห็น

กลุ่มที่ 3 : การสร้างระบบการจัดการความรู้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการฝึกอบรม
จากกานำเสนอจะกล่าวถึงระบบการจัดการความรู้นั้นเป็นสิ่งที่กำลังเข้ามามีความสำคัญมากต่อบุคคลทุกคน ทุกอาชีพ  สำหรับเราที่เป็นผู้เรียนนั้น  มันเป็นเหมือนตัวช่วยทำให้การเรียนการสอน  ตัวผู้เรียนเองเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุด  และการสร้างระบบการจัดการความรู้ เป็นส่วนสำคัญในการยกระดับประสิทธิผลสำหรับการเรียนและการฝึกอบรมโดยใช้ระบบเหล่านี้มาเป็นตัวช่วย  การจัดทำระบบการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น เราควรที่จะสนับสนุนให้ผู้ใช้คิดอย่างมีเหตุผล และเรียนรู้วิธีที่ง่ายต่อการสนับสนุนการตัดสินใจ  การแก้ไขปัญหาและการส่งต่อความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำเอาระบบการจัดการความรู้มาใช้ในการฝึกอบรมตัวบุคคลและระบบพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ  เราควรที่จะออกแบบ เอาใจใส่เพื่อเป็นหลักการเรียนรู้ที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุด

กลุ่มที่ 4 : ความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้และนวัตกรรม
จากการนำเสนอของบทความนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และนวัตกรรม ในการพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างคุณภาพนวัตกรรมและการจัดการความรู้ขององค์กรธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และกล่าวถึงการประยุกต์ใช้รูปแบบต่างๆในการจัดการองค์กร และจะเห็นได้ว่านวัตกรรมนั้นสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย อาจจะเป็นภายในบริษัท หรือภายนอกบริษัท ในการร่วมมือกันเพื่อนำนวัตกรรมที่ได้พัฒนาไปใช้ร่วมกัน

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้รับจากบทความ (ของกลุ่ม)


Making Knowledge Management System
an Effective Tool for Learning and Training

ปัจจุบันระบบการจัดการความรู้มีความสำคัญมากต่อทุกคน  ทุกอาชีพ  และยังเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากในการกำหนดความสำเร็จขององค์กรอีกด้วย  ซึ่งปัจจัยหลักที่มีส่วนช่วยในการจัดการความรู้มีทั้งหมด 6 ประการ  ได้แก่
1.Media of Representation :  การใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย  ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.Multiple Perspectives :  ระบบ KM จึงต้องมีการควบคุม ผสมผสาน  ในการสร้างพื้นฐานความรู้บนมุมมอง ความเชื่อ สมมุติฐาน  และแม้กระทั่งความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  โดยการจัดหมวดหมู่ระดับของแต่ละบุคคลให้สอดคล้องกันตามความเหมาะสม  แต่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เหมือนกัน
3.Compexity :  การพัฒนาต้องการความเข้าใจและทักษะต่างๆที่จะทำให้การเรียนรู้สภาพแวดล้อมภายในดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้ใช้ระบบ KM  ถ้าผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ  ใช้ง่ายและเกิดประโยชน์เป็นที่แน่นอนว่าผู้ใช้จะตอบรับระบบ KM หากเกิดความยุ่งยากผู้ใช้ก็สามารถควบคุมได้ โดยระบบการเชื่อมต่อที่สนับสนุนและความช่วยเหลือทางวิชาการในส่วนต่างๆของแต่ละบุคคล
4.Users control :  ในระบบ KM ต้องมีการกำหนดตัวเลือกที่จะ เร่งให้เร็วขึ้นหรือช้าลง  และหยุดหรือทำซ้ำ ในเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นทางเลือกและสิ่งผิดปกติในเหตุการณ์ได้
5.Online support ในการเรียน KM เทคโนโลยีถูกใช้ในการสร้างสนับสนุนผู้ใช้เหล่านี้  ผู้เรียนจะถูกจัดสรรเมนูแอคเซส เพื่อให้สามารถตอบคำถามได้   อธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ และฟังก์ชั่นของมัน  และแนะนำขั้นตอนการดำเนินการลึกลงไปสำหรับแต่ละภาระงานที่จะต้องทำให้สำเร็จ
6.Navigation aids :  ในระบบ KM การนำทางเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้ผู้ใช้ได้ย้ายไปยังเป้าหมายในพื้นที่ที่ข้อมูลครอบคลุมถึง  เพื่อการเรียนรู้และการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการจัดทำระบบการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น เราควรที่จะสนับสนุนให้ผู้ใช้คิดอย่างมีเหตุผล และเรียนรู้วิธีที่ง่ายต่อการสนับสนุนการตัดสินใจ  การแก้ไขปัญหาและการส่งต่อความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำเอาระบบการจัดการความรู้มาใช้ในการฝึกอบรมตัวบุคคลและระบบพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ  เราควรที่จะออกแบบ เอาใจใส่เพื่อเป็นหลักการเรียนรู้ที่ทันสมัย

KM Model

SECI Model
เป็นการสร้างองค์ความรู้ ด้วยการขยายผลจากชนิดของความรู้คือ ความรู้ที่มีอยู่ในสมองคน (Tacit Knowledge) กับความรู้ที่สามารถหาได้จากสื่อภายนอก (Explicit Knowledge) โมเดลดังกล่าวมีชื่อว่า “SECI- Knowledge Conversion Process” ซึ่งมีกระบวนการดังนี้
1.Socialization  เป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างกลุ่มคนหรือบุคคล โดยไม่ผ่านการเขียน เรียกว่า การเสวนาธรรมกลุ่มคนที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง กลุ่มคนที่มาเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันนี้มักจะมีพื้นฐานความรู้ที่สอดคล้องกัน หรือเคยมีประวัติอดีตที่คล้ายคลึงกัน จะมีคลื่นความถี่ที่ใกล้เคียงกันสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย
TK  -->  TK
ถ่ายทอดจากคนสู่คน
2.Externalization  :  เป็นการถ่ายโอนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการสอนผ่านสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ในสมองของเขาออกมาสู่ภายนอกแก่ผู้อื่น
TK  -->  EK
3.Combination  :  การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง และมีการศึกษาเรียนรู้จากความรู้ภายนอก ซึ่งแนวคิดจะมีความหลากหลายมากต้องสร้างความเข้าใจแลเชื่อมโยงความรู้อันหลากหลายให้ได้ และถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้กับองค์กรของตน
EK  --> EK
4.Internalization  :  การนำความรู้ใหม่มาลงมือปฏิบัติจริง ผู้ปฏิบัติจะเกิดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญา เป็นประสบการณ์อยู่ในสมองในเชิง Tacit Knowledge ต่อไป
EK   -->  TKนำความรู้จาก Explicit มาปฏิบัติ
 คิดค้นโดย  Ikujiro Nonaka และ Takeuchi 

โมเดลปลาทู
โมเดลปลาทูเป็นโมเดลอย่างง่ายของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
๑. ส่วน หัวปลา (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย หัวปลานี้จะต้องเป็นของ คุณกิจหรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี คุณเอื้อและ คุณอำนวยคอยช่วยเหลือ
๒. ส่วน “ตัวปลา (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง คุณอำนวยจะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ คุณกิจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว คุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
๓. ส่วน “หางปลา (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ คลังความรู้หรือ ขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวปลาซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ หางปลานี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
KnowledgeVision KnowledgeAssets KnowledgeSharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า ทำ KM ไปเพื่ออะไร

อ้างอิง :
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต3KM Model. [ออนไลน์], [ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pattani3.go.th/kmc/KMmodel.htm. [5 เมษายน 2554]

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

เครื่องมือและวิธีการจัดการความรู้

เครื่องมือการจัดการความรู้
Knowledge Management Tools

ชุมชนแนวปฏิบัติ (Communities of Practice – CoP)
เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ มาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน  ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สําคัญ  จะมีความแตกต่างจากการจัดตั้งทีมงานเนื่องจากเป็นการรวมกันอย่างสมัครใจ  ควรมีการบันทึกสิ่งที่เรียนรู้ระหว่างกัน  ให้แรงจูงใจหรือรางวัลสําหรับสมาชิกที่ให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อเป็นตัวอย่างแก่คนอื่นๆ ต่อไป  รวมทั้งควรส่งเสริมให้ CoP มีการเติบโตและขยายตัว
ฐานความรู้ความสำเร็จ (Best Practices Databases)
การจัดการองค์ความรู้ในองค์กรได้มีการจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์  ทั้งในรูปแบบของความสำเร็จ ความล้มเหลวและข้อเสนอแนะในเรื่องที่สนใจ โครงการ หรือกลุ่มที่ปรึกษา  ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นการจัดการองค์ความรู้ในองค์กรในช่วงยุคต้นๆ ของการจัดการความรู้  การที่มีศูนย์กลางความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ  ทำให้พนักงานทั้งองค์กรสามารถเข้ามาเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง  หากเราสามารถดำเนินการได้ดี  ฐานองค์ความรู้นี้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
ฐานความรู้บทเรียน (Lessons Learned Databases)
เป็นการเก็บข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่องค์กรมีไว้ในระบบฐานข้อมูล  สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต  อินทราเน็ต หรือระบบอื่นๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้อง  ควรคํานึงถึงความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence – CoE)
เป็นการกำหนดแหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence) หรือทราบว่าจะสามารถติดต่อสอบถามผู้รู้ได้ที่ไหน อย่างไร (Expertise Locators) จึงเป็นอะไรที่มากกว่ารายชื่อผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน
การเล่าเรื่อง (Story Telling)
เรื่องราวที่บอกเล่าทำให้ผู้ฟังเข้าไปร่วมอยู่ในความคิด  มีความรู้สึกเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่เล่า  มีความต้องการที่จะหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราวและความคิดต่างๆ  ในเรื่องที่เล่านั้นกลายเป็นของผู้ฟัง  ผู้ฟังมิใช่เป็นเพียงผู้สังเกตภายนอกอีกต่อไป  เป็นการให้ผู้ที่มีความรู้จากการปฏิบัติได้มาปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ), ในส่วนลึกของสมอง  (ความคิด)  และในส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ)  ออกมาเป็นคําพูดและหน้าตาท่าทาง (Non – Verbal  Communication)  การปลดปล่อยความรู้จากการปฏิบัตินี้  ผู้ปล่อยที่ได้รับการฝึกปฏิบัติจนมีความชํานาญแล้วจะสามารถปลดปล่อยความรู้ออกมาได้อย่างทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ
ทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Reviews – AAR)
เป็นกิจกรรมที่ใช้ทบทวนหรือประเมินผลของกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ในแต่ละครั้งว่ามีจุดดีจุดด้อย  รวมทั้งโอกาสและอุปสรรคอย่างไรในการทํา CoP เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการทํา CoP ในครั้งต่อไปให้ดีขึ้น  รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้เสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ  เพื่อการปรับปรุงการทํา CoP ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่มและเป้าหมายของสมาชิก
การใช้ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Monitoring Programs)
เป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัว  เป็นวิธีการหนึ่งในการสอนงานและให้คําแนะนําอย่างใกล้ชิด  นอกจากจะให้คําปรึกษาในด้านการงานแล้วยังเป็นที่ปรึกษาในเวลามีปัญหาหรือสับสน  ที่สําคัญพี่เลี้ยงจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องพฤติกรรม จริยธรรม และการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร
การเสวนา (Dialogue)
เป็นการปรับฐานความคิด  โดยการฟังจากผู้อื่นและความหลากหลายทางความคิดที่เกิดขึ้น  ทำให้สมาชิกเห็นภาพที่ใกล้เคียงกัน  หลังจากนั้นเราจึงจัดประชุมหรืออภิปรายเพื่อแก้ปัญหาหรือหาข้อยุติต่อไปได้โดยง่าย  และผลหรือข้อยุติที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการที่เราเห็นภาพในองค์รวมเป็นที่ตั้ง
เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
เป็นการประชุมซึ่งเชิญสมาชิกจากทีมอื่น  มาแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจให้แก่ทีมซึ่งต้องการความช่วยเหลือ  ผู้ที่ถูกเชิญมาอาจจะเป็นคนที่อยู่ในองค์กรอื่นก็ได้
เวที ถาม-ตอบ (Forum)
เป็นอีกหนึ่งเวทีในการที่เราสามารถโดยคำถามเข้าไป  เพื่อให้ผู้รู้ที่อยู่ร่วมใน Forum ช่วยกันตอบคำถามหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นช่วยตอบ  หากองค์กรมีการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP) หรือมีการกำหนดแหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence-CoE) แล้วคำถามที่เกิดขึ้นสามารถส่ง/ยิงเข้าไปใน Forum ซึ่งอยู่ใน CoP หรือ CoE เพื่อหาคำตอบ ในลักษณะ “Pull Information”
อื่นๆ (Others)
สมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages)  จะเหมือนกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองที่เราคุ้นเคยกัน
แหล่งที่มาของความรู้ ประเภทของความรู้ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านขององค์กร  รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่สําคัญๆ
สร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนที่ต้องการใช้ข้อมูลกับแหล่งข้อมูลที่มี
การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross-Functional Team)
เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อมาทำงานร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดความรู้ระหว่างทีม  จะทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น
หัวหน้าทีมควรมีการสร้างบรรยากาศที่ดี
ควรมีการจดบันทึกหรือรวบรวมความรู้ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันไว้ด้วย
การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) และการยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน (Secondment)
การสับเปลี่ยนงานเป็นการย้ายบุคลากรไปทำงานในหน่วยงานต่างๆ
ซึ่งอาจอยู่ภายในสายงานเดียวกันหรือข้ามสายงานเป็นระยะๆ
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
ผู้ถูกยืมตัวถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองให้หน่วยงาน
ในขณะเดียวกันผู้ถูกยืมตัวก็ได้เรียนรู้จากบุคลากรในหน่วยงานอื่น  ซึ่งสามารถนํามาพัฒนางานของตนเอง  หรือสร้างความรู้ใหม่ๆ

วิธีการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)  เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง


อ้างอิง :
วิภาดา เวทย์ประสิทธิ์เครื่องมือการจัดการความรู้. [ออนไลน์], [ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก: http://share.psu.ac.th/file/klangduen.p/56-KM+tools+slide.pdf. [4 เมษายน 2554]
วิธีการจัดการความรู้. [ออนไลน์], [ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiall.com/km/indexo.html#km2. [5 เมษายน 2554]