วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

Explicit Knowledge & Tacit Knowledge

สิ่งที่แตกต่างระหว่างความรู้สองประเภท
ในเชิงปฏิบัติการที่มักจะมีการแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้:
ความรู้ประเภทแรกเป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่อยู่ในตํารับตํารา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฏีทั้งหลาย อันได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ผ่านกระบวนการวิจัย เรามักเรียกกันทั่วๆ ไปว่าเป็น ความรู้ชัดแจ้งหรือ “Explicit Knowledge”
ความรู้ประเภทสอง :  เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติ บ้างก็จัดว่าเป็น เคล็ดวิชาเป็น ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่มาจากการใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ  เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน ถึงแม้ความรู้ประเภทที่สองนี้จะเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนความรู้ประเภทแรก แต่ก็เป็นสิ่งสําคัญที่ทำให้งานบรรลุผลสําเร็จได้เช่นกัน

ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างความรู้ 2 ประเภทนี้
Explicit Knowledge
Tacit Knowledge
วิชาการ หลักวิชา
ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา
ทฤษฏี(Theory) ปริยัติ
ปฏิบัติ(Practice) ประสบการณ์
มาจากการสังเคราะห์ วิจัยใช้สมอง (Intellectual)
มาจากวิจารณญาณใช้ปฏิภาณ (Intelligence)
เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนที่ผ่านการพิสูจน์
เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน

ผลการวิจัยในต่างประเทศเคยสรุปสัดส่วนของความรู้สองประเภทนี้ว่า ความรู้ที่เป็นหลักวิชาที่ต้องผ่านการพิสูจน์ หรือเขียนออกมาเป็นทฤษฏีนั้นถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน หากเปรียบกับภูเขานํ้าแข็ง (ตามรูป) ความรู้ส่วนที่เป็น Explicit Knowledge  นั้นจะเห็นได้ง่าย  คล้ายกับส่วนยอดของภูเขานํ้าแข็งที่อยู่พ้นนํ้า  แต่ความรู้ส่วนที่เป็น Tacit Knowledge  นั้นแฝงอยู่ในตัวคน ทำให้มองไม่เห็น เปรียบได้กับส่วนของภูเขานํ้าแข็งที่จมใต้นํ้า ซึ่งถ้านํามาเทียบกันแล้ว จะพบว่ามีปริมาณมากกว่าส่วนที่พ้นนํ้าค่อนข้างมาก
การที่เราเข้าใจความแตกต่างระหว่างความรู้ทั้งสองประเภทนี้ จะทำให้เราเข้าใจความหมายของคําว่า จัดการ” ได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น คุณลักษณะของความรู้สองประเภทนี้แตกต่างกันค่อนข้างจะมาก จะเห็นได้ว่า “ความรู้แจ้ง (Explicit knowledge)  นั้นเป็นความรู้ที่ได้มาจากการทดลอง  ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เป็นความรู้ที่ผ่านการพิสูจน์ (Proven Knowledge) เป็นความรู้ที่ถูกทําให้กลายเป็นเรื่อง ทั่วไป (Generalize)”  ไม่ติดอยู่ในบริบทใดบริบทหนึ่ง ในขณะที่ “ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)  นั้นมีคุณลักษณะที่เรียกได้ว่าค่อนข้างจะตรงกันข้าม  คือมีลักษณะเป็น เคล็ดวิชาเป็นสิ่งที่ได้มาสดๆมีบริบท (Context) ติดอยู่ ยังไม่ได้ถูก “Generalize” ยังไม่ได้ ถูกปรุง”  แต่อย่างใด


อ้างอิง :
Explicit Knowledge & Tacit Knowledge. [ออนไลน์], [ม.ป.ป.]. เข้าถึงได้จาก : pharm.kku.ac.th/km/pdf/kmpr3.pdf.  [ 31 มีนาคม 2554].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น